ภาวะมลพิษทางดิน
สาเหตุ
- การใช้ปุ๋ยทางวิทยาศาสตร์ เพื่อเพิ่มผลผลิตทาง ปุ๋ยเคมีที่ประกอบด้วยธาตุหลักสำคัญของพืช ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแตสเซียม
- การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช (pesticides)
- การปล่อยให้น้ำเสียจากกระบวนการผลิต น้ำเสียส่วนใหญ่ที่มาจากกระบวนการเหล่านี้จะเกิดการชะล้างผ่านสารเคมีต่างๆ ในอุตสาหกรรม เช่น สารพีซีบี (PCB) ที่ใช้ในการผลิตสีและพลาสติก สารเอชซีบี (HCB) ที่ใช้ในการผลิตยางสังเคราะห์
์
- การทิ้งขยะ มลพิษทางดินส่วนใหญ่เกิดจากการทิ้งขยะที่เกิดจากสารเคมีซึ่งยากต่อการย่อยสลาย เช่น กระป๋อง เศษโลหะ และพลาสติก
ผลกระทบ
- ปุ๋ยเคมีที่ประกอบด้วยธาตุ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแตสเซียม เมื่อใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานจะทำให้ดินเปรี้ยว มีสภาพความเป็นกรดสูง ไม่เหมาะสมแก่การปลูกพืช
- สัตว์ที่หากินในดินจะได้รับพิษจากการสัมผัสสารพิษในดินโดยตรง และจากการบริโภคอาหารที่มีสารพิษปะปนอยู่ สารพิษที่ได้รับส่วนใหญ่จะเป็นยาฆ่าแมลงที่นอกจากจะทำลายศัตรูพืชแล้วยังทำลายศัตรูธรรมชาติ ซึ่งเป็นปรสิตไปด้วยทำให้เกิดการระบาดของแมลงบางชนิดที่เป็นอันตรายต่อพืชในภายหลัง หรืออาจเกิดการทำลายแมลงที่ช่วยผสมเกสร
- พืชที่ดูดซึมสารพิษในดินเข้าไป ทำให้เจริญเติบโตผิดปกติ ผลผลิตต่ำ หรือเกิดอันตราย และการสูญพันธุ์ขึ้น
______________________________________________________
http://home.kapook.com/view159054.html
http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/ecology/chapter4/chapter4_soil8.htm
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9590000104722
http://pirun.ku.ac.th/~b5510404795/ห่มดิน.html
- พืชที่ดูดซึมสารพิษในดินเข้าไป ทำให้เจริญเติบโตผิดปกติ ผลผลิตต่ำ หรือเกิดอันตราย และการสูญพันธุ์ขึ้น
โครงการในพระราชดำริเพื่อการแก้ไขปัญหา
หญ้าแฝก
หญ้าแฝกจัดว่าเป็นพืชตระกูลหญ้าชนิดหนึ่งที่พบได้ทั่วไป มีลักษณะเป็นกอ ใบแคบและยาว ออกดอก ลักษณะรากฝอยสานกันแน่นและรากมีความยาวเป็นพิเศษ หญ้าแฝกกระจายตัวอยู่ทั่วทุกพื้นที่ เจริญเติบโตง่าย ดูแลได้ไม่ยาก ทนแล้งได้เป็นอย่างดี
ประโยชน์ของหญ้าแฝก
- การปลูกหญ้าแฝกจะช่วยอนุรักษ์ดินและน้ำให้อุดมสมบูรณ์
- ป้องกันการกัดเซาะและพังทลายของหน้าดิน
- ปรับสภาพดินที่เสื่อมโทรมให้กลับมาสมบูรณ์ได้อีกครั้ง
- ช่วยพยุงดิน โอบอุ้มความชื้นไว้ใต้ดินลึกเพื่อปรับสภาพดินให้อุดมสมบูรณ์
- ข้อหนา ๆ ที่กอต้นนั้นช่วยกรองตะกอนดินและเศษซากต่าง ๆ ที่ไหลมากับน้ำได้ ชะลอความเร็วและความแรงของน้ำไหลบ่า
ห่มดิน
การห่มดินมีหลายวิธีการ เช่น ใช้ฟางและเศษใบไม้มาห่มดิน หรือวัสดุอื่นตามที่หาได้ตามสภาพทั่วไปของพื้นที่ การใช้พรมใยปาล์ม (wee drop) ซึ่งทำมาจากปาล์มที่ผ่านการรีดน้ำมันแล้ว เริ่มจากการนำทะลายปาล์มมาตะกุยให้เป็นเส้น ๆ ก่อนจะเอาไปอัดให้เป็นแผ่นเป็นผ้าห่มดิน
ประโยชน์ของการห่มดิน
- ป้องกันการระเหยของความชื้นที่อยู่ในดิน ทำให้ดินมีความชุ่มชื้นจุลินทรีย์ทำงานได้ดี ส่งผลให้ดินบริเวณนั้นทำการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน และพัฒนาทรัพยากรดินให้เกิดแร่ธาตุ
- ช่วยคลุมหน้าดินไม่ให้วัชพืชขึ้นรบกวนต้นไม้หรือพืชหลัก
แกล้งดิน
สำหรับการแก้ปัญหาสำคัญในเรื่องดินพรุ ดินเปรี้ยว หรือดินเป็น กรดนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงใช้พระอัจฉริยะภาพคิดค้นวิธีการที่เรียกว่า“แกล้งดิน” หรือ “ทำให้ดินโกรธ” โดยการทำให้ดินแห้งและเปียกสลับกันไป เพื่อให้ดินปล่อยแร่ธาตุที่เป็นกรดออกมา กลายเป็นดินที่มีกรดจัด เปรี้ยวจัด จากนั้นจึงใช้น้ำชะล้างดินควบคู่ไปกับปูน ซึ่งทรงเรียกว่า “ระบบซักผ้า” เมื่อใช้น้ำจืด ชะล้างกรดในดินไปเรื่อยๆ ความเป็นกรดจะค่อยๆจางลง จนสามารถใช้เพาะปลูก ทำการเกษตรได้
อ้างอิง
https://www.gotoknow.org/posts/619454http://home.kapook.com/view159054.html
http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/ecology/chapter4/chapter4_soil8.htm
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9590000104722
http://pirun.ku.ac.th/~b5510404795/ห่มดิน.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น