วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2560

ภาวะมลพิษ

       ภาวะมลพิษ คือของเสีย วัตถุอันตราย และมลสารอื่น ๆ รวมทั้งกากตะกอน หรือสิ่งตกค้างที่ถูกปล่อยทิ้งจากแหล่งกำเนิดมลพิษ หรือที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ ซึ่งก่อให้เกิดหรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม หรือภาวะที่เป็นพิษภัยอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนได้ และหมายความรวมถึงรังสี ความร้อน แสง เสียง กลิ่น ความสั่นสะเทือน หรือเหตุรำคาญอื่น ๆ ที่เกิดหรือถูกปล่อยออกจากแหล่งกำเนิดมลพิษ
       ภาวะมลพิษที่สำคัญ ได้แก่
              1.ภาวะมลพิษทางอากาศ
              2.ภาวะมลพิษทางน้ำ
              3.ภาวะมลพิษทางดิน



ภาวะมลพิษทางอากาศ


       สาเหตุ


              - การเผาไหม้เชื้อเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรมหรือยานพาหนะ  
              - การเผาถ่านหินหรือเชื้อเพลิงที่มีกำมะถัน
              - การทดลองอาวุธนิวเคลียร์ ก่อให้เกิดละอองกำมันตรังสี
              - ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เช่น ภูเขาไฟระเบิด ไฟป่า ( มีความเป็นพิษน้อยมาก เนื่องจากแหล่งกำเนิดอยู่ไกล จึงทำให้เข้าสู่สภาวะแวดล้อมของมนุษย์ได้น้อย )
                
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ จราจร

       ผลกระทบ


              -แก๊ส SO2 เป็นแก๊สไม่มีสี แต่มีกลิ่นฉุน 
       พืช : เมื่อปะปนมากับน้ำฝนทำให้เกิดฝนกรด ส่งผลให้สีใบไม้ซีดจาง และสังเคราะห์แสงไม่ได้ 
       สิ่งก่อสร้าง : กัดกร่อนโลหะและอาคาร บ้านเรือน




       คนและสัตว์ : เมื่อรับแก๊ส SO2 ถ้ารับน้อยจะเกิดอาการปวดเมื่อยเรื้อรัง โลหิตจางถ้ารับมากเป็นอันตรายต่อปอด ปอดอักเสบ หลอดลมตีบตัน

              -
แก๊ส NO, NO2 ­ NOเป็นแก๊สไม่มีสี เมื่อทำปฏิกิริยากับ O2
ในอากาศจะกลายเป็นแก๊ส NO­
       คนและสัตว์ : จะเกิดการระคายเคืองตา และระบบหายใจ ทำให้
 
เกิดหมอกควัน เสื้อผ้าสีซีดจาง
       โลหะ : ผุกร่อน
       พืช    : พืชผลเสียหาย ฟอกจางสีใบพืช


              -แก๊ส CO เป็นแก๊สไม่มีสี ไม่มีกลิ่น เมื่อหายใจเอาแก๊ส CO 
เข้าไปจะรวมกับฮีโมโกลบินในเลือด ทำให้เม็ดเลือดแดงไม่ 
สามารถรับออกซิเจนได้ตามปกติ เกิดอาการเวียนศรีษะ หายใจติดขัด คลื่นไส้อาเจียน ถ้าได้รับในปริมาณมากอาจทำให้เสียชีวิต

              -แก๊ส COกักเก็บความร้อนเอาไว้ ทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นเป็นสาเหตุของการเกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก




              -สารประกอบไฮโดรคาร์บอน เกิดจากการเผาไหม่ไม่หมด ถ้าเป็นไฮโดรคาร์บอนที่มีพันธะคู่จะรวมตัวกับ Oในอากาศ เกิดเป็นสารประกอบ Aldehyde ซึ่งมีกลิ่นเหม็นเกิดการระคายเคือง เมื่อมีการสูดดม ถ้าไฮโดรคาร์บอนรวมกับ Oและ NOจะเกิดเป็นสารประกอบ Peroxy acetyl nitrate (PAN) ซึ่งเป็นพิษ ระคายเคืองต่อตา และระบบหายใจ 


       โครงการในพระราชดำริเพื่อการแก้ไขปัญหา


              ไบโอดีเซล
       ไบโอดีเซล คือ  น้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพที่ผ่านการผลิตมาจากน้ำมันพืช หรือไขมันสัตว์ผสมกับเอทานอล (Ethanol) หรือ 
เมทานอล (Methanol) เพื่อให้ได้เชื้อเพลิงโมเลกุลเล็กลง ซึ่งจะมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับน้ำมันดีเซลและสามารถใช้ทดแทนได้



       ประโยชน์ของไบโอดีเซล
              - เผาไหม้ได้สมบูรณ์ทำให้ลดควันดำ จึงช่วยลดการปล่อยก๊าซที่ก่อให้เกิดภาวะเรือนกระจกโดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อแก้ปัญหาโลกร้อน
              - ไอเสียมีมลพิษต่ำกว่าการใช้น้ำมันดีเซล คือ ไม่มีกำมะถันและสารก่อมะเร็งเป็นองค์ประกอบ

              เอทานอล
       เอทานอล (Ethanol) หรือ เอทิลแอลกอฮอล์ (ethyl alcohol) เป็นแอลกอฮอล์ปฐมภูมิ สูตร CH3CH2OH สามารถผลิตได้จากกระบวนการสังเคราะห์ทางเคมี และกระบวนการหมักวัตถุดิบจำพวกแป้ง และน้ำตาลด้วยจุลินทรีย์ นิยมนำมาใช้เป็นสารตั้งต้นสำหรับผลิตสารเคมีอื่นๆหรือนำมาใช้ประโยชน์โดยตรง เช่น ใช้เป็นตัวทำละลาย เครื่องดื่ม และเชื้อเพลิง



       ประโยชน์ของเอทานอล

              การใช้เอทานอลจะช่วยพัฒนาสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเป็นเชื้อเพลิงที่ไร้สารมลพิษ เช่น ซัลเฟอร์และมีโมเลกุลของออกซิเจนเป็นส่วนประกอบถึงร้อยละ 35 โดยน้ำหนัก เมื่อนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในรถยนต์จึงเกิดการเผาไหม้ที่สมบูรณ์กว่าเชื้อเพลิงทั่วไป ระบบเครื่องยนต์ที่ใช้เอทานอลจึงสะอาดกว่าเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซิน หรือดีเซล


_________________________________________________________________________________
อ้างอิง
http://oknation.nationtv.tv/blog/chaimmc/2008/07/21/entry-1

http://www.eppo.go.th/royal/m1700_0020.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น