วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2560

ภาวะมลพิษทางน้ำ


       สาเหตุ


              การปล่อยน้ำเสีย การทิ้งขยะ จากครัวเรือน ชุมชน สถานที่สาธารณะ เช่น โรงเรียน โรงแรม โรงพยาบาล  ฯลฯ  ทำให้น้ำมัน สารเคมี สารพิษ สารอินทรีย์  เชื้อโรค พยาธิ  ที่ไม่ได้รับการบำบัดหรือมีการจัดการกำจัดที่ถูกต้อง ถูกปล่อยหรือถูกชะล้างสู่แหล่งน้ำ

              - สารเคมีจากการทำการเกษตรได้แก่ ปุ๋ย ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์  สารเคมีกำจัดศัตรูพืช น้ำเสียจากการเพาะปลูกจะมีไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมปะปนอยู่มาก 

              - ของเสีย น้ำเสีย สารคมีจากโรงงานอุตสาหกรรม ที่ไม่ผ่านกระบวนการบำบัดที่ถูกต้องสมบูรณ์ 

              - ของเสีย มูล และน้ำล้างคอก จากฟาร์มเลี้ยงสัตว์ เช่น ฟาร์มสุกร โค ไก่ ฯลฯ น้ำทิ้งจากฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฯลฯ จะมีสารประเภทอินทรีย์เป็นส่วนมาก




       ผลกระทบ


              - ฟอสเฟตที่มาจากปุ๋ยและผงซักฟอก ทำให้พืชน้ำเจริญงอกงามอย่างรวดเร็ว เมื่อพืชน้ำตายจุลินทรีย์ในน้ำจะต้องใช้ O2 จำนวนมากเพื่อย่อยสาลายซากพืชน้ำ ทำให้ O2 นน้ำลดลง และหมดไปในที่สุด น้ำจึงเน่า เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า "ปรากฏการณ์ยูโทรฟิเคชัน" (Eutrophication)



              - น้ำมันที่อยู่บริเวณผิวน้ำ จะเป็นฟิลม์กันไม่ให้ Oละลายลงไปในน้ำ ทำให้น้ำขาด O2 และสัตว์ที่อยู่บริเวณนั้นตายลง

              น้ำทิ้งของโรงงานอุตสาหกรรม มีความเป็นกรด-ด่างสูง เมื่อถูกปล่อยลงแหล่งน้ำโดยไม่มีการบำบัด จึงทำให้น้ำมีคุณสมบัติไม่เหมาะสมต่อการเพาะปลูกและการเจริญเติบโตของพืชและสัตว์

              - สารเคมีที่ใช้ในการเกษตร เมื่อลงสู่แม่น้ำ สัตว์จะได้รับสารพิษและตาย อีกส่วนหนึ่งจะเก็บสะสมสารพิษไว้ในร่างกายและกลับเข้ามาสู่คนในวัฏจักรของห่วงโซ่อาหาร



              - น้ำเสียเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำและสุขอนามัยของประชาชน โรคระบาด เช่น อหิวา โรคบิด และน้ำเสียที่เกิดจากโรงงานอุสาหกรรมที่มีสารพิษเจือปนทำให้เกิดโรคร้ายแรง ทำลายสุขภาพของประชาชนทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น โรคมินามาตะ 


       โครงการในพระราชดำริเพื่อการแก้ไขปัญหา


              กังหันน้ำชัยพัฒนา


       กังหันน้ำชัยพัฒนา หรือเครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย (Chaipattana Low Speed Surface Aerator) ซึ่งเป็น Model RX-2 หมายถึง Royal Experiment แบบที่ 2 มีคุณสมบัติในการถ่ายเทออกซิเจนได้สูงถึง 1.2 กิโลกรัมของออกซิเจน/แรงม้า/ชั่วโมง สามารถนำไปใช้ในกิจกรรมปรับปรุงคุณภาพน้ำได้อย่างอเนกประสงค์ ติดตั้งง่าย เหมาะสำหรับใช้ในแหล่งน้ำธรรมชาติ ได้แก่ สระน้ำ หนองน้ำ คลอง บึง ลำห้วย ฯลฯ ที่มีความลึกมากกว่า 1.00 เมตร และมีความกว้างมากกว่า 3.00 เมตร



       ประโยชน์ของกังหันน้ำชัยพัฒนา
       ช่วยลดมลภาวะที่เกิดจากน้ำเน่าเสีย ทำให้ความเป็นอยู่ของประชาชนในบริเวณริมแหล่งน้ำในพื้นที่ต่าง ๆ ดีขึ้น ด้วยกระบวนการของกังหันชัยพัฒนาที่ช่วยทำให้น้ำใสสะอาดขึ้น ลดกลิ่นเหม็น และมีปริมาณออกซิเจนในน้ำเพิ่มขึ้น สัตว์น้ำต่าง ๆ สามารถอยู่อาศัยได้อย่างปลอดภัย อีกทั้งยังบำบัดความสกปรกต่าง ๆ ให้ลดต่ำลงได้ตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด


______________________________________________________

อ้างอิง
http://www.chaipat.or.th/site_content/19-248/18-chaipattana-water-turbine-development.html
http://pirun.ku.ac.th/~b521080095/Untitled-6.html
http://ridceo.rid.go.th/buriram/waste_water_problem.html
http://www.weloveroyalty.com/main/th/project/detail/กังหันชัยพัฒนา/8.html


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น