วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2560

ภาวะมลพิษ

       ภาวะมลพิษ คือของเสีย วัตถุอันตราย และมลสารอื่น ๆ รวมทั้งกากตะกอน หรือสิ่งตกค้างที่ถูกปล่อยทิ้งจากแหล่งกำเนิดมลพิษ หรือที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ ซึ่งก่อให้เกิดหรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม หรือภาวะที่เป็นพิษภัยอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนได้ และหมายความรวมถึงรังสี ความร้อน แสง เสียง กลิ่น ความสั่นสะเทือน หรือเหตุรำคาญอื่น ๆ ที่เกิดหรือถูกปล่อยออกจากแหล่งกำเนิดมลพิษ
       ภาวะมลพิษที่สำคัญ ได้แก่
              1.ภาวะมลพิษทางอากาศ
              2.ภาวะมลพิษทางน้ำ
              3.ภาวะมลพิษทางดิน



ภาวะมลพิษทางอากาศ


       สาเหตุ


              - การเผาไหม้เชื้อเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรมหรือยานพาหนะ  
              - การเผาถ่านหินหรือเชื้อเพลิงที่มีกำมะถัน
              - การทดลองอาวุธนิวเคลียร์ ก่อให้เกิดละอองกำมันตรังสี
              - ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เช่น ภูเขาไฟระเบิด ไฟป่า ( มีความเป็นพิษน้อยมาก เนื่องจากแหล่งกำเนิดอยู่ไกล จึงทำให้เข้าสู่สภาวะแวดล้อมของมนุษย์ได้น้อย )
                
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ จราจร

       ผลกระทบ


              -แก๊ส SO2 เป็นแก๊สไม่มีสี แต่มีกลิ่นฉุน 
       พืช : เมื่อปะปนมากับน้ำฝนทำให้เกิดฝนกรด ส่งผลให้สีใบไม้ซีดจาง และสังเคราะห์แสงไม่ได้ 
       สิ่งก่อสร้าง : กัดกร่อนโลหะและอาคาร บ้านเรือน




       คนและสัตว์ : เมื่อรับแก๊ส SO2 ถ้ารับน้อยจะเกิดอาการปวดเมื่อยเรื้อรัง โลหิตจางถ้ารับมากเป็นอันตรายต่อปอด ปอดอักเสบ หลอดลมตีบตัน

              -
แก๊ส NO, NO2 ­ NOเป็นแก๊สไม่มีสี เมื่อทำปฏิกิริยากับ O2
ในอากาศจะกลายเป็นแก๊ส NO­
       คนและสัตว์ : จะเกิดการระคายเคืองตา และระบบหายใจ ทำให้
 
เกิดหมอกควัน เสื้อผ้าสีซีดจาง
       โลหะ : ผุกร่อน
       พืช    : พืชผลเสียหาย ฟอกจางสีใบพืช


              -แก๊ส CO เป็นแก๊สไม่มีสี ไม่มีกลิ่น เมื่อหายใจเอาแก๊ส CO 
เข้าไปจะรวมกับฮีโมโกลบินในเลือด ทำให้เม็ดเลือดแดงไม่ 
สามารถรับออกซิเจนได้ตามปกติ เกิดอาการเวียนศรีษะ หายใจติดขัด คลื่นไส้อาเจียน ถ้าได้รับในปริมาณมากอาจทำให้เสียชีวิต

              -แก๊ส COกักเก็บความร้อนเอาไว้ ทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นเป็นสาเหตุของการเกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก




              -สารประกอบไฮโดรคาร์บอน เกิดจากการเผาไหม่ไม่หมด ถ้าเป็นไฮโดรคาร์บอนที่มีพันธะคู่จะรวมตัวกับ Oในอากาศ เกิดเป็นสารประกอบ Aldehyde ซึ่งมีกลิ่นเหม็นเกิดการระคายเคือง เมื่อมีการสูดดม ถ้าไฮโดรคาร์บอนรวมกับ Oและ NOจะเกิดเป็นสารประกอบ Peroxy acetyl nitrate (PAN) ซึ่งเป็นพิษ ระคายเคืองต่อตา และระบบหายใจ 


       โครงการในพระราชดำริเพื่อการแก้ไขปัญหา


              ไบโอดีเซล
       ไบโอดีเซล คือ  น้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพที่ผ่านการผลิตมาจากน้ำมันพืช หรือไขมันสัตว์ผสมกับเอทานอล (Ethanol) หรือ 
เมทานอล (Methanol) เพื่อให้ได้เชื้อเพลิงโมเลกุลเล็กลง ซึ่งจะมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับน้ำมันดีเซลและสามารถใช้ทดแทนได้



       ประโยชน์ของไบโอดีเซล
              - เผาไหม้ได้สมบูรณ์ทำให้ลดควันดำ จึงช่วยลดการปล่อยก๊าซที่ก่อให้เกิดภาวะเรือนกระจกโดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อแก้ปัญหาโลกร้อน
              - ไอเสียมีมลพิษต่ำกว่าการใช้น้ำมันดีเซล คือ ไม่มีกำมะถันและสารก่อมะเร็งเป็นองค์ประกอบ

              เอทานอล
       เอทานอล (Ethanol) หรือ เอทิลแอลกอฮอล์ (ethyl alcohol) เป็นแอลกอฮอล์ปฐมภูมิ สูตร CH3CH2OH สามารถผลิตได้จากกระบวนการสังเคราะห์ทางเคมี และกระบวนการหมักวัตถุดิบจำพวกแป้ง และน้ำตาลด้วยจุลินทรีย์ นิยมนำมาใช้เป็นสารตั้งต้นสำหรับผลิตสารเคมีอื่นๆหรือนำมาใช้ประโยชน์โดยตรง เช่น ใช้เป็นตัวทำละลาย เครื่องดื่ม และเชื้อเพลิง



       ประโยชน์ของเอทานอล

              การใช้เอทานอลจะช่วยพัฒนาสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเป็นเชื้อเพลิงที่ไร้สารมลพิษ เช่น ซัลเฟอร์และมีโมเลกุลของออกซิเจนเป็นส่วนประกอบถึงร้อยละ 35 โดยน้ำหนัก เมื่อนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในรถยนต์จึงเกิดการเผาไหม้ที่สมบูรณ์กว่าเชื้อเพลิงทั่วไป ระบบเครื่องยนต์ที่ใช้เอทานอลจึงสะอาดกว่าเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซิน หรือดีเซล


_________________________________________________________________________________
อ้างอิง
http://oknation.nationtv.tv/blog/chaimmc/2008/07/21/entry-1

http://www.eppo.go.th/royal/m1700_0020.html

ภาวะมลพิษทางดิน


       สาเหตุ


              การใช้ปุ๋ยทางวิทยาศาสตร์ เพื่อเพิ่มผลผลิตทาง ปุ๋ยเคมีที่ประกอบด้วยธาตุหลักสำคัญของพืช ได้แก่ ไนโตรเจน  ฟอสฟอรัส และโพแตสเซียม

              - การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช (pesticides) 

              - การปล่อยให้น้ำเสียจากกระบวนการผลิต น้ำเสียส่วนใหญ่ที่มาจากกระบวนการเหล่านี้จะเกิดการชะล้างผ่านสารเคมีต่างๆ ในอุตสาหกรรม เช่น สารพีซีบี (PCB) ที่ใช้ในการผลิตสีและพลาสติก สารเอชซีบี (HCB) ที่ใช้ในการผลิตยางสังเคราะห์
์ 
              - การทิ้งขยะ มลพิษทางดินส่วนใหญ่เกิดจากการทิ้งขยะที่เกิดจากสารเคมีซึ่งยากต่อการย่อยสลาย เช่น กระป๋อง เศษโลหะ และพลาสติก 


       ผลกระทบ


              - ปุ๋ยเคมีที่ประกอบด้วยธาตุ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแตสเซียม เมื่อใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานจะทำให้ดินเปรี้ยว มีสภาพความเป็นกรดสูง ไม่เหมาะสมแก่การปลูกพืช

              สัตว์ที่หากินในดินจะได้รับพิษจากการสัมผัสสารพิษในดินโดยตรง และจากการบริโภคอาหารที่มีสารพิษปะปนอยู่ สารพิษที่ได้รับส่วนใหญ่จะเป็นยาฆ่าแมลงที่นอกจากจะทำลายศัตรูพืชแล้วยังทำลายศัตรูธรรมชาติ ซึ่งเป็นปรสิตไปด้วยทำให้เกิดการระบาดของแมลงบางชนิดที่เป็นอันตรายต่อพืชในภายหลัง หรืออาจเกิดการทำลายแมลงที่ช่วยผสมเกสร 

              พืชที่ดูดซึมสารพิษในดินเข้าไป ทำให้เจริญเติบโตผิดปกติ ผลผลิตต่ำ หรือเกิดอันตราย และการสูญพันธุ์ขึ้น 

       โครงการในพระราชดำริเพื่อการแก้ไขปัญหา

              หญ้าแฝก
 
       หญ้าแฝกจัดว่าเป็นพืชตระกูลหญ้าชนิดหนึ่งที่พบได้ทั่วไป มีลักษณะเป็นกอ ใบแคบและยาว ออกดอก ลักษณะรากฝอยสานกันแน่นและรากมีความยาวเป็นพิเศษ หญ้าแฝกกระจายตัวอยู่ทั่วทุกพื้นที่ เจริญเติบโตง่าย ดูแลได้ไม่ยาก ทนแล้งได้เป็นอย่างดี


       ประโยชน์ของหญ้าแฝก
 
              - การปลูกหญ้าแฝกจะช่วยอนุรักษ์ดินและน้ำให้อุดมสมบูรณ์
              - ป้องกันการกัดเซาะและพังทลายของหน้าดิน 
              - ปรับสภาพดินที่เสื่อมโทรมให้กลับมาสมบูรณ์ได้อีกครั้ง 
              - ช่วยพยุงดิน โอบอุ้มความชื้นไว้ใต้ดินลึกเพื่อปรับสภาพดินให้อุดมสมบูรณ์ 
              - ข้อหนา ๆ ที่กอต้นนั้นช่วยกรองตะกอนดินและเศษซากต่าง ๆ ที่ไหลมากับน้ำได้ ชะลอความเร็วและความแรงของน้ำไหลบ่า 

              ห่มดิน

       การห่มดินมีหลายวิธีการ เช่น ใช้ฟางและเศษใบไม้มาห่มดิน หรือวัสดุอื่นตามที่หาได้ตามสภาพทั่วไปของพื้นที่ การใช้พรมใยปาล์ม (wee drop) ซึ่งทำมาจากปาล์มที่ผ่านการรีดน้ำมันแล้ว เริ่มจากการนำทะลายปาล์มมาตะกุยให้เป็นเส้น ๆ ก่อนจะเอาไปอัดให้เป็นแผ่นเป็นผ้าห่มดิน


       ประโยชน์ของการห่มดิน
              - ป้องกันการระเหยของความชื้นที่อยู่ในดิน ทำให้ดินมีความชุ่มชื้นจุลินทรีย์ทำงานได้ดี ส่งผลให้ดินบริเวณนั้นทำการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
              ป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน และพัฒนาทรัพยากรดินให้เกิดแร่ธาตุ 
              ช่วยคลุมหน้าดินไม่ให้วัชพืชขึ้นรบกวนต้นไม้หรือพืชหลัก

              แกล้งดิน

       สำหรับการแก้ปัญหาสำคัญในเรื่องดินพรุ ดินเปรี้ยว หรือดินเป็น กรดนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงใช้พระอัจฉริยะภาพคิดค้นวิธีการที่เรียกว่า“แกล้งดิน” หรือ “ทำให้ดินโกรธ” โดยการทำให้ดินแห้งและเปียกสลับกันไป เพื่อให้ดินปล่อยแร่ธาตุที่เป็นกรดออกมา กลายเป็นดินที่มีกรดจัด เปรี้ยวจัด จากนั้นจึงใช้น้ำชะล้างดินควบคู่ไปกับปูน ซึ่งทรงเรียกว่า “ระบบซักผ้า” เมื่อใช้น้ำจืด ชะล้างกรดในดินไปเรื่อยๆ ความเป็นกรดจะค่อยๆจางลง จนสามารถใช้เพาะปลูก ทำการเกษตรได้


______________________________________________________


อ้างอิง
https://www.gotoknow.org/posts/619454
http://home.kapook.com/view159054.html
http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/ecology/chapter4/chapter4_soil8.htm
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9590000104722
http://pirun.ku.ac.th/~b5510404795/ห่มดิน.html


ภาวะมลพิษทางน้ำ


       สาเหตุ


              การปล่อยน้ำเสีย การทิ้งขยะ จากครัวเรือน ชุมชน สถานที่สาธารณะ เช่น โรงเรียน โรงแรม โรงพยาบาล  ฯลฯ  ทำให้น้ำมัน สารเคมี สารพิษ สารอินทรีย์  เชื้อโรค พยาธิ  ที่ไม่ได้รับการบำบัดหรือมีการจัดการกำจัดที่ถูกต้อง ถูกปล่อยหรือถูกชะล้างสู่แหล่งน้ำ

              - สารเคมีจากการทำการเกษตรได้แก่ ปุ๋ย ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์  สารเคมีกำจัดศัตรูพืช น้ำเสียจากการเพาะปลูกจะมีไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมปะปนอยู่มาก 

              - ของเสีย น้ำเสีย สารคมีจากโรงงานอุตสาหกรรม ที่ไม่ผ่านกระบวนการบำบัดที่ถูกต้องสมบูรณ์ 

              - ของเสีย มูล และน้ำล้างคอก จากฟาร์มเลี้ยงสัตว์ เช่น ฟาร์มสุกร โค ไก่ ฯลฯ น้ำทิ้งจากฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฯลฯ จะมีสารประเภทอินทรีย์เป็นส่วนมาก




       ผลกระทบ


              - ฟอสเฟตที่มาจากปุ๋ยและผงซักฟอก ทำให้พืชน้ำเจริญงอกงามอย่างรวดเร็ว เมื่อพืชน้ำตายจุลินทรีย์ในน้ำจะต้องใช้ O2 จำนวนมากเพื่อย่อยสาลายซากพืชน้ำ ทำให้ O2 นน้ำลดลง และหมดไปในที่สุด น้ำจึงเน่า เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า "ปรากฏการณ์ยูโทรฟิเคชัน" (Eutrophication)



              - น้ำมันที่อยู่บริเวณผิวน้ำ จะเป็นฟิลม์กันไม่ให้ Oละลายลงไปในน้ำ ทำให้น้ำขาด O2 และสัตว์ที่อยู่บริเวณนั้นตายลง

              น้ำทิ้งของโรงงานอุตสาหกรรม มีความเป็นกรด-ด่างสูง เมื่อถูกปล่อยลงแหล่งน้ำโดยไม่มีการบำบัด จึงทำให้น้ำมีคุณสมบัติไม่เหมาะสมต่อการเพาะปลูกและการเจริญเติบโตของพืชและสัตว์

              - สารเคมีที่ใช้ในการเกษตร เมื่อลงสู่แม่น้ำ สัตว์จะได้รับสารพิษและตาย อีกส่วนหนึ่งจะเก็บสะสมสารพิษไว้ในร่างกายและกลับเข้ามาสู่คนในวัฏจักรของห่วงโซ่อาหาร



              - น้ำเสียเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำและสุขอนามัยของประชาชน โรคระบาด เช่น อหิวา โรคบิด และน้ำเสียที่เกิดจากโรงงานอุสาหกรรมที่มีสารพิษเจือปนทำให้เกิดโรคร้ายแรง ทำลายสุขภาพของประชาชนทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น โรคมินามาตะ 


       โครงการในพระราชดำริเพื่อการแก้ไขปัญหา


              กังหันน้ำชัยพัฒนา


       กังหันน้ำชัยพัฒนา หรือเครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย (Chaipattana Low Speed Surface Aerator) ซึ่งเป็น Model RX-2 หมายถึง Royal Experiment แบบที่ 2 มีคุณสมบัติในการถ่ายเทออกซิเจนได้สูงถึง 1.2 กิโลกรัมของออกซิเจน/แรงม้า/ชั่วโมง สามารถนำไปใช้ในกิจกรรมปรับปรุงคุณภาพน้ำได้อย่างอเนกประสงค์ ติดตั้งง่าย เหมาะสำหรับใช้ในแหล่งน้ำธรรมชาติ ได้แก่ สระน้ำ หนองน้ำ คลอง บึง ลำห้วย ฯลฯ ที่มีความลึกมากกว่า 1.00 เมตร และมีความกว้างมากกว่า 3.00 เมตร



       ประโยชน์ของกังหันน้ำชัยพัฒนา
       ช่วยลดมลภาวะที่เกิดจากน้ำเน่าเสีย ทำให้ความเป็นอยู่ของประชาชนในบริเวณริมแหล่งน้ำในพื้นที่ต่าง ๆ ดีขึ้น ด้วยกระบวนการของกังหันชัยพัฒนาที่ช่วยทำให้น้ำใสสะอาดขึ้น ลดกลิ่นเหม็น และมีปริมาณออกซิเจนในน้ำเพิ่มขึ้น สัตว์น้ำต่าง ๆ สามารถอยู่อาศัยได้อย่างปลอดภัย อีกทั้งยังบำบัดความสกปรกต่าง ๆ ให้ลดต่ำลงได้ตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด


______________________________________________________

อ้างอิง
http://www.chaipat.or.th/site_content/19-248/18-chaipattana-water-turbine-development.html
http://pirun.ku.ac.th/~b521080095/Untitled-6.html
http://ridceo.rid.go.th/buriram/waste_water_problem.html
http://www.weloveroyalty.com/main/th/project/detail/กังหันชัยพัฒนา/8.html